เมนู

ครอบงำให้สะดุ้งทำไว้ในอำนาจ ราชสีห์นี้นั้น เที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยว
ครอบงำด้วยเดช.
ในสองศัพท์นั้น ถ้าใครพึงกล่าวว่า ราชสีห์เที่ยวข่มขี่ครอบงำ ซึ่ง
อะไรดังนี้ไซร้ แต่นั้น พึงทำสัตตมีวจนะว่า มิคานํ ให้เป็นทุติยาวจนะ
เปลี่ยนเป็น มิเค ปสยฺห อภิภุยฺยจารี แปลว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำ ซึ่งเนื้อ
ทั้งหลาย.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ที่ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่สถานที่อยู่
อาศัย. บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นแล เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าวไว้ให้พิสดาร
ทาฐพลิคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 35


คาถาว่า เมตฺตํ อุเปกฺขํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งทรงได้เมตตาฌาน ท้าวเธอทรงพระ-
ราชดำริว่า ราชสมบัติกระทำอันตรายต่อความสุขในฌาน จึงทรงสละราชสมบัติ
เพื่อทรงรักษาฌานไว้ ทรงผนวชแล้ว ทรงเห็นแจ้งอยู่ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่ง
ปัจเจกโพธิญาณ ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า.
เมตฺตํ อุเปกฺขํ กรุณํ วิมุตฺตึ
อาเสวมาโน มุทิตญฺจ กาเล
สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ
กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขา
วิมุตติ ในกาลอันสมควรไม่ยินร้ายด้วยโลก
ทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ความเป็นผู้ใคร่เพื่อนำเข้ามาซึ่งหิตสุข โดยนัยว่า ขอ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขเถิด ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เมตตา ความเป็น
ผู้ใคร่เพื่อนำออกไปซึ่งอหิตทุกข์ โดยนัยว่า โอหนอ ! ขอเราพึงพันจากทุกข์
นี้ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า กรุณา ความเป็นผู้ใคร่เพื่อไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข
โดยนัยว่า สัตว์ผู้เจริญทั้งหลายเพลิดเพลินหนอ เพลิดเพลินดีแท้ดังนี้เป็นต้น
ชื่อว่า มุทิตา ความเป็นผู้วางเฉย ในสุขและทุกข์ทั้งหลายว่า จักปรากฏด้วย
กรรมของตนดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา. แต่ท่านกล่าวเมตตาแล้วกล่าวอุเบกขา แล้ว
กล่าวมุทิตาในภายุหลัง โดยสับเปลี่ยนลำดับ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.
บทว่า วิมุตฺตึ ความว่า ก็ธรรมแม้ 4 เหล่านั้น ชื่อว่า วิมุตติ เพราะ
เป็นธรรมพ้นแล้ว จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหลายของตน. เพราะเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ
กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขา
วิมุตติ ในกาลอันสมควร.

ในคาถานั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า อบรมอยู่ซึ่งธรรมทั้งสาม
ด้วยอำนาจแห่งฌานหมวดสามและหมวดสี่ ซึ่งอุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถ-
ฌาน.
บทว่า กาเล ความว่า บุคคลเจริญเมตตาแล้ว ออกจากเมตตานั้น
แล้วเสพกรุณา ออกจากกรุณานั้นแล้ว เสพมุทิตา ออกจากมุทิตานั้น หรือ
จากฌานอันไม่มีปีตินอกนี้แล้ว เสพอุเบกขา เรียกว่า เสพอยู่ในกาล. หรือ
เรียกว่าเสพอยู่ในกาลอันผาสุก เพื่อจะเสพ.
บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่ยินร้ายด้วย
โลกทั้งปวงในทิศทั้งสิบ. จริงอยู่ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น
อันตนเจริญแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ไม่น่าเกลียด และปฏิฆะอันก่อความ
โกรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึง
กล่าวว่าไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวงดังนี้. ความสังเขปในคาถานี้มีเท่านี้. ส่วน
เมตตาทิกถา ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัฏฐลาลินี.
บทที่เหลือ เป็นเช่นกับนัยก่อนนั่นแล.
อัปปมัญญาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 40


คาถาว่า ราคญฺจ โทสํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ มาตังคะ องค์สุดท้ายของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่อาศัยพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ของพวกเราอุบัติแล้ว เทวดาทั้งหลายพากันมา เพื่อประโยชน์ในการ